ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เสวรินทร์ สงสุรินทร์

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาของวันปีใหม่

หากพูดถึงวันขึ้นปีใหม่ ตามหลักความเชื่อจะไม่ยึดถือว่าวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันปีใหม่ ยกตัวอย่างเช่น วันตรุษจีน จัดเป็นวันปีใหม่ของชาวจีน, วันสงกรานต์ จัดเป็นวันปีใหม่ไทย  เป็นต้น เพียงแต่ทั่วโลกส่วนใหญ่ยึดหลักตามปฏิทินให้วันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันแรก ของเดือนแรก ในปีนั้นๆ เป็น วันขึ้นปีใหม่นั้นเอง
เดิมที ใน 1 ปี เราจะมีจำนวนวัน 365 วัน แต่ในยุคสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์อียิปต์มาปรับแต่งให้ ทุกๆ 4 ปี ให้เติมเดือนกุมภาพันธ์ ที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ให้เป็น 29 วัน ซึ่งในปีนั้นเราจะเรียกว่าเป็นปี อธิกสุรทิน


ความเป็นมาของวันปีใหม่ในไทย

วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ใน สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทย ต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

สาเหตุที่วันขึ้นปีใหม่ไทยเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม เพราะ??

  • เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
  • เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนารพุทธ
  • เป็นการกำหนดให้เป็นวันเดียวในระดับสากลประเทศทั่วโลก
  • เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของไทย
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึง วันที่ 1 มกราคม เช่น เคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปีหรือ วันที่ 31 ธันวาคม ทางราชการหรือประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง มหรสพ และในตอนเช้า วันที่ 1 มกราคม ก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดหรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตรหรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน

การส่ง ส.ค.ส. วันปีใหม่ เกิดขึ้นเมื่อไหร่

ในวันปีใหม่ เราทุกคนจะรู้จัก ส.ค.ส. กันเป็นอย่างดี ที่มักเรียกกันว่า “ส่งความสุข” จริงๆ แล้วประเทศไทยเราไม่มีมาตั้งแต่ต้น แต่เราได้รับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีมาตั่งแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา โดยจะมาในรูปแบบของกระดาษ ด้วยวิธีการเขียนหรือพิมพ์รูปภาพ ลงไปเพื่อเยี่ยมเยื่ยนกันในวันปีใหม่ และปัจจุบันนิยมส่ง ส.ค.ส. ในวันปีใหม่อย่างแพร่หลายมากขึ้น อีกทั้งยังมีการสร้าง ส.ค.ส. ขึ้นเพื่อใช้ในงานเทศกาลต่างๆ เช่น วันวาเลนไทน์ วันคริสต์มาส เป็นต้น

ส.ค.ส. พระราชทาน 2530
ส.ค.ส. พระราชทาน 2530
แต่ถึงอย่างไรแล้ว ส.ค.ส. ใดก็ไม่รู้สึกดีเท่าไร ส.ค.ส. พระราชทาน  ซึ่งคนไทยจะเฝ้ารอพระราชทานพรปีใหม่ทุกปี จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 โดยแรกเริ่มพระองค์พระราชทาน ส.ค.ส. ในปี พ.ศ. 2530 โดยทรงพิมพ์ออกจากคอมพิวเตอร์ และแฟกซ์พระราชานให้แก่หน่วยงานผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท  โดยใช้รหัสแทนพระองค์ว่า “กส.9” เช่นเดียวกับการติดต่อทางวิทยุสื่อสารของพระองค์เอง

ส.ค.ส. พระราชทาน 2547
ส.ค.ส. พระราชทาน 2547
หลังจากนั้นพระองค์ทรงพระราชทาน ส.ค.ส. ทุกปี จนเมื่อเหตุการณ์ สึนามี ในปลายปี พ.ศ. 2547 สึนามึได้เข้าชายฝั่งทะเลอันดามันอย่างรุนแรง พระองค์ทรงห่วงใย ช่วยเหลือพสกนิกรอย่างหนัก อีกทั้งพระองค์ก็ทรงพระราชทาน ส.ค.ส. ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์นั้นๆ  แต่แฝงไปด้วยข้อคิด และคติเตือนใจ

ส.ค.ส. พระราชทาน 2554
ส.ค.ส. พระราชทาน 2554
จากที่สังเกตุ จะเห็นได้ว่าพระองค์พระราชทาน ส.ค.ส. ในรูปแบบของกระดาษไม่มีสี ไม่มีลวดลายใดมากนัก แต่ในปี พ.ศ. 2554 พระองค์ทรงได้พระราชทาน ส.ค.ส. วันปีใหม่ ด้วยภาพสี ซึ่งเป็นภาพที่ทุกคนจะต้องผ่านตามาอย่างแน่นอน โดยเป็น “พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์สีครีมผ้าปัก พระกระเป๋าเป็นผ้าลายริ้วสีเหลืองสลับเทา ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตสีขาว ทรงผูกเนกไทลายริ้วสีเหลืองสลับเทา ประทับบนพระเก้าอี้ ด้านข้างพระเก้าอี้ที่ประทับทั้งสอง ข้างมีโต๊ะสูง โต๊ะด้านซ้ายวางแจกันแก้วก้านสูงปักดอกไม้หลากสี โต๊ะด้านขวาวางแจกันแก้วขนาดเล็กปักดอกไม้หลากสีเช่นกัน ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง 2 สุนัข คือ คุณทองแดงที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2541 หมอบอยู่หน้าพระเก้าอี้ด้านขวาและคุณทองแท้ที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2542 หมอบอยู่หน้าพระเก้าอี้ด้านซ้าย มุมบนด้านซ้ายมีตัวอักษรสีเหลือง
ข้อความว่า ส.ค.ส.สวัสดีปีใหม่ 2554 มุมบนด้านขวามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2011
ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีน้ำเงินว่า ขอจงมีความสุข ความเจริญ มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 121923 ธ.ค.53 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆเรียงกันด้านละ 3 แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม”

ส.ค.ศ. พระเทพฯ พระราชทาน 2556
ส.ค.ศ. พระเทพฯ พระราชทาน 2556
ในปีนี้ พ.ศ. 2556 ได้มีพระราชทาน ส.ค.ส. จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทาน ส.ค.ส. 2557 ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย
***********************************************************************************

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น