ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เสวรินทร์ สงสุรินทร์

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สถานที่ท่องเที่ยวภาคอีสาน 2

6. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุทยานพนมรุ้ง

           อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร (คำว่า พนมรุ้ง หรือ วนํรุง เป็นภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาใหญ่) โดยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น


           สำหรับปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอด อันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน




           ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือ ห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและ ด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายงดงาม ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้าง ขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17


           ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า "โรงช้างเผือก"


           ทั้งนี้ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (นับแบบไทย) ของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ คือ แสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตูทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพอดี ชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่ง ก่อสร้างของบรรพชน โดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น. สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทรศัพท์ 0 4478  2715  และ ททท.สำนักงานสุรินทร์ โทรศัพท์ 0 4451 4447-8, 0 4451 8530 

 7. มอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มอหินขาว
           มอหินขาว หรือ สโตนเฮนจ์เมืองไทย ตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน ตำบลท่าหินโงม ห่างจากตังเมืองชัยภูมิไปทางทิศเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติภูแลนคาด้านทิศเหนือ เป็นเนินเขาที่มีหินทรายสีขาวขนาดมหึมา ตั้งตระหง่านโพล่พ้นต้นหญ้า ยามต้องแสงแดดในเวลากลางวัน และช่วงเวลาหลังฝนตกไม่นานจะมองเห็นก้อนหินสีขาวเด่นชัดจากระยะไกล เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น

           จากหลักฐานจากกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับจังหวัดชัยภูมิ เริ่มสำรวจเมื่อปี 2545 พบว่า การเรียงลำดับชั้นหินและอายุที่ได้จากซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ มีอายุระหว่าง 195-175 ล้านปี เพราะการสะสมของตะกอนทราย แป้ง และดินเหนียวหลังจาก 65 ล้านปีผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกและแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก ผุพัง และการกัดเซาะ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ลักษณะด้านกายภาพของพื้นที่มอหินขาว ประกอบด้วยกลุ่มหินแบบเสาหิน แท่นหิน และลานหิน ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการของผู้พบเห็น ลักษณะเป็นก้อนหินใหญ่แปลกตา หาดูยาก รูปร่างคล้ายเห็ด เรือ ช้าง เต่า และเจดีย์ กระจายอยู่ทั่งไปบนเนินเขาสูง


           นอกจากนี้ยังมีเสาหินใหญ่ตั้งเรียงรายเป็นแถว มอหินขาวจัดเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ นั้นยังเป็นพื้นที่ศึกษาสังคมของพันธุ์พืชต่าง ๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก แมลง และเป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคา ซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้ใช้


           สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูแลนคา โทรศัพท์ 08 7960 1853, 08 1976 0486  และ ททท.สำนักงานนครราชสีมา โทรศัพท์ 0 4421 3030, 0 4421 3666, 0 4421 3667, 0 4435 1721  


8. โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ จังหวัดยโสธร



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้
           โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองซ่งแย้ หมู่ 2 ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 45 กิโลเมตร (ตามทางหลวงหมายเลข 2169 ยโสธร-เลิงนกทา) เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว Unseen in Thailand เป็นโบสถ์คริสต์ที่สร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ ใช้เสาไม้ทั้งเล็กและใหญ่กว่า 300 ต้น และไม้มุงหลังคา 80,000 แผ่น เป็นโบสถ์คริสต์สร้างด้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุกว่า 50 ปี และตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ทางจังหวัดยโสธรได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาวในวันวาเลนไทน์ของทุกปี ณ โบสถ์แห่งนี้ด้วย

           สำหรับประวัติความเป็นมา มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ในปี ค.ศ. 1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กันเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหา บาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและครอบครัว ซึ่งบาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบฝาขัดแตะเล็ก ๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่างเป็นทางการภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษ คือ โบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศส คือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมี บาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีตถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเกือบทั้งหมด

           หลังจากนั้นได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่าง ๆ กันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา

           ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 4571 8201 และ ททท. สำนักงานอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4524 3770, 0 4525 0714, 0 4524 3771 และ


        

9. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
           ภูหลวง มีความหมายว่าเขาที่สูงใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน เกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลกและดินส่วนที่อ่อนพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ ภูหลวงประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2517 มีพื้นที่ประมาณ 560,593 ไร่ สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง อากาศเย็นตลอดปี ตั้งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูหลวง ฤดูกาลบนภูหลวงมี 3 ฤดู เหมือนพื้นราบแต่ระดับอุณหภูมิต่างกัน

           ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20-24 องศาเซลเซียส จะมีดอกไม้ที่มีสีสันเจิดจ้าสวยงามเช่นเอื้องตาเหิน กล้วยไม้ป่าดอกขาว กุหลาบขาว และกุหลาบแดง ส่วนฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อุณหภูมิใกล้เคียงหรือสูงกว่าหน้าร้อนเล็กน้อยจะมีดอกไม้ป่าดอกเล็ก ๆ สีชมพูอมม่วงขึ้นแซมตามทุ่งหญ้าและเทียนน้อย ขณะที่ฤดูหนาวอุณหภูมิลดลงมาก เฉลี่ย 0-16 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม บางวันอุณหภูมิลดลงถึง -4 องศาเซลเซียส จะมีก่วมแดงหรือที่รู้จักกันว่าเมเปิล จะเปลี่ยนสีแดงแล้วผลัดใบ ตามพื้นดินจะเห็นต้นกระดุมเงินและรองเท้านารีปีกแมลงปอขึ้นอยู่บนก้อนหินและ ตามพื้นป่าดิบเขา


           ด้านตะวันออกของเทือกภูหลวงมีการค้นพบซากหินรอยเท้าไดโนเสาร์อายุกว่า 120 ล้านปี นอกจากนี้ ยังมีป่าหลากชนิด เช่น ป่าผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา แต่ป่าที่โดดเด่นที่สุดบนภูหลวง คือ ป่าสนสองใบ สนสามใบ และทุ่งหญ้าตามพื้นที่ราบ เนินเขา และลานหิน โดยเส้นทางศึกษาธรรมชาติภูหลวงเป็นเส้นทางเดินต่อเนื่องกัน เริ่มจากโหล่นมน ซึ่งเป็นบริเวณที่พักนักท่องเที่ยวผ่านป่าดงดิบ ลำห้วยป่าสนสามใบ และดอกไม้สลับทุ่งหญ้าระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ถึงโหล่นสาวแยงคิง จากนั้นไปเป็นเส้นทางเดินไปยังโหล่นหินแอ่วขัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ผ่านดงดอกไม้หลายชนิด ต่อไปเป็นทางเดินสู่ลานหินโหล่นแต้ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะพบกุหลาบขาวและกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ บริเวณผาโหล่นแต้ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูหอ ภูกระดึง ภูยองภู และภูขวาง นอกจากนี้ ยังมีจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผากบ ผาชมวิว โหล่นช้างผึ้ง ซุ้มงูเห่า และน้ำตกสายทอง


           ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย โทรศัพท์ 0 4280 1955 หรือ  และ ททท.สำนักงานเลย โทรศัพท์ 0 4281 2812, 0 4281 1480


10. เชียงคาน จังหวัดเลย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เชียงคาน
           เชียงคาน เป็นอำเภอเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขงสงบเงียบ ในย่านชุมชนยังคงมีห้องแถวไม้ บ้านไม้เก่า แก่ที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นเสน่ห์ที่สุดคลาสสิกของเชียงคาน บางแห่งตกแต่งทำเป็นที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้าสำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนแบบสบาย ๆ ใกล้ชิดกับชุมชน กิจกรรมที่น่าสนใจ คือตักบาตรตอนเช้า ชมวัด และล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งโขง สินค้าที่ขึ้นชื่อของเชียงคาน คือ ผ้านวม  มะพร้าวแก้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนไม่ควรพลาดที่จะซื้อเป็นของฝาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น